วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต


เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (International Network) ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยจำนวนมากมายที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายจะสามารถติดต่อสื่อสารเพื่อการเรียกใช้หรือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลตลอดจนสนทนากันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ลักษณะข้อมูลที่ปรากฏในเครือข่ายมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ที่ปรากฏในรูปแบบของสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย (Multimedia) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นห้องสมุดโลก ทั้งนี้เนื่องจากเปิดให้ผู้ที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารใส่ข้อมูลข่าวสารไว้ในเครือข่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่เปิด สามารถเรียกหรือค้นคืนได้ ส่งผลทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดมหาศาลกระจัดกระจายเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เติบโตมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้านการทหารของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า อาร์ปาเน็ต (ARPANET : Advanced Research Projects Agency Network) เมื่อปี พ.ศ. 2512 แรกเริ่มมีวัตถุประสงค์จัดทำเครือข่ายเพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการศึกษาและวิจัยด้านการทหาร ต่อมาเมื่อมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆขอเข้าใช้มากขึ้น จึงได้แยกเครือข่ายออกเป็นอีกเครือข่ายคือ เครือข่าย MILNET (Military Network) ที่ใช้สำหรับด้านการทหารและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) สำหรับผู้ใช้ทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมเครือข่ายมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และมีเครือข่ายย่อยมากกว่า 5,000 เครือข่าย ผู้ใช้มากกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก และยังมีการขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการเจริญเติบโตประมาณ 10-20 %

วัตถุประสงค์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งบันแลกเปลี่ยน ข่าวสารความรู้ต่าง ๆ เป็นแหล่งความรู้สำหรับนักวิชาการและนักวิจัยทั่วโลก และเป็นแหล่งศึกษาเพื่อการพัฒนาเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ          ในปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงการใช้อินเทอร์เน็ตโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือเอที (AIT) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เชื่อมต่อไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
                จนกระทั่งในปี พ
.. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเน็คเทค (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT),มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" โดยสำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตกับบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยีประเทศสหรัฐอเมริกา
                ในปี พ.. 2536 เน็คเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเน็คเทค ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับและมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อมา
               
 วิธีการเชื่อต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป สามารถแบ่งการเชื่อมต่อได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
  • การเชื่อมต่อแบบบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไป ซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านกับระบบเครือข่าย
  • การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นการเชื่อมต่อสำหรับองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้วสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทางหรือเราท์เตอร์ (Router) และสายสัญญาณเช่าตลอด 24 ชั่วโมง
โดยทั่วไปการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานนั้น จะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้
                1. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) สำหรับคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมต่อการใช้งานหากต้องการสืบค้นรูปภาพ และข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดีย ความเป็น Pentium 2 ขึ้นไป หน่วยความจำไม่ต่ำกว่า 32 MB
                2. โมเด็ม (Modem) เป็นเครื่องแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาลอก เพื่อการรับส่งข้อมูลทางสายโทรศัพท์ หรือในทางกลับกันจาก อนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งความเร็วในการเรียกข้อมูลมาใช้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของโมเด็ม (ปัจจุบันมีความเร็วในระดับ 56.0 kpbs ขึ้นไป) โดยแบ่งเป็นโมเด็มภายใน (Internal Modem) ซึ่งจะติดตั้งภายในเครื่อง และแบบภายนอก (External Modem) ซึ่งต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ด้านนอก
                3. โทรศัพท์ (Telephone) คือคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้ทั่วไปตามบ้าน สามารถใช้สำหรับติดต่อเชื่อมกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้งานตามปกติได้
                4. โปรแกรมสื่อสาร (Communications Program) ในระบบ Windows จะมีโปรแกรมชื่อ Dial Up Networking ทำหน้าที่หมุนโทรศัพท์ติดต่อกับ ISP และเชื่อมต่อกับโทรศัพท์อัตโนมัติ
                5. ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Internet Account) คือ ต้องสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น KSC, CS Internet, Lox info, TOT เป็นต้น ซึ่งจะได้รับ Account และ Password เพื่อ Log in เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายเพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่มีระบบการสื่อสารและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์แตกต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้นั้น ต้องมีภาษากลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อกันกันเรียกว่า โปโตคอล (Prtocal) ทั้งนี้เพื่อกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเพื่อให้มีการสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด สำหรับโปโตคอลที่ใช้นั้นมีการออกแบบมามากมายเพื่อใช้เป็นมาตรฐานภาษากลางในระบบเครือข่าย แต่ที่ที่นิยมในปัจจุบัน คือ ทีซีพี / ไอพี TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นศูนย์ข้อมูลหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่มีการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิชาการ การเมือง ธุรกิจ ข่าวสาร บันเทิง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกมต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่ให้ฟรี หรือบางแหล่งก็จะต้องเสียค่าบริการในการสืบค้นข้อมูล
ประโยชน์ในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
                1. ใช้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆทั่วโลก โดยการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) หรือการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
                2. เพื่อการเข้าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่ในเครือข่าย การติดต่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่ต่ออยู่ในเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ มาใช้งานได้
                3. เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้สามารถคัดลอกและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมที่ผู้ผลิตอนุญาต มาใช้ตามต้องการ
4. สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ห้องสมุดทั่วทุกมุมโลก
5. ใช้ในการรับข้อมูล ข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในด้านต่าง ๆผ่านกลุ่มสนทนา
6. สามารถใช้เชื่อมโยง ติดต่อกับคอมพิวเตอร์หรือศูนย์ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในงานด้าน
ต่าง ๆ ทั่วโลก
7. เพื่อใช้บริการและดำเนินงานธุรกิจจากผู้ขายบริการด้านต่างๆ เช่น ธนาคาร ร้านค้า ร้านอาหารเป็นต้น
8. ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล (E-Learning) การประชุม การอบรมสัมมนา
9. ใช้เพื่อความบันเทิง และพักผ่อนหยุ่นใจ เช่น เพลง รายการทีวี วิทยา ภาพยนตร์ เกม
10. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย
                ข้อเสียหรือโทษในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
                1. ข้อมูลบางอย่างอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริงต้องใช้วิจารณญานในการรับรู้
                2. อาจถูกหลอกลวง กลั่นแกล้ง
                3. ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากไป อาจทำให้เสียการเรียนได้
                4. ข้อมูลบางอย่างไม่เหมาะสมกับเด็กๆในวัยเรียน
 5. ทำให้เสียสายตาได้
  6. ขณะใช้อินเทอร์เน็ตโทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้